เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

เนือง ๆ พึงประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ พึงประกอบ
การดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ พึงประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็น
สัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ พึงประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทาง
กายเนือง ๆ พึงประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ
เมื่อภิกษุนั้นประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ประกอบการฟัง
เสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทาง
จมูกเนือง ๆ ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ประกอบการ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์
อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะพึงครอบงำจิตได้ เธอมีจิตถูกราคะ
ครอบงำแล้ว พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
เปรียบเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศรที่อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิตของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผล
แล้วใช้เครื่องตรวจหาลูกศร ตรวจพบลูกศรแล้วจึงถอนออก พึงกำจัดโทษคือพิษที่
ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่า ‘ไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่’ หมอผ่าตัดนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อหลง
เหลือแล้ว ท่านพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ต้องรับประทานอาหารที่ไม่แสลง เมื่อท่าน
จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่แสลง ก็อย่าถึงกับให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้อง
ล้างแผลตามเวลา ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลและทายาสมาน
แผลตามเวลา ก็อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดปิดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตาก
ลมตากแดดเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ก็อย่าให้ละอองหรือ
สิ่งโสโครกถูกปากแผลได้ ท่านต้องรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะสมานกันดี’
บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘หมอถอนลูกศรให้เราแล้ว โทษคือพิษหมอก็
กำจัดจนไม่มีเชื้อหลงเหลือแล้ว เราพ้นขีดอันตรายแล้ว’ เขาจึงรับประทานอาหาร
ที่แสลง เมื่อเขารับประทานอาหารที่แสลง แผลก็กำเริบ เขาไม่ล้างแผลตามเวลา
และไม่ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่ล้างแผลและไม่ทายาสมานแผล
ตามเวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ปิดปากแผล เขาเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ
เมื่อเขาเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ละอองและสิ่งโสโครกจึงถูกปากแผล เขาไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :67 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

คอยรักษาแผลอยู่ แผลจึงไม่สมานกัน เพราะการกระทำไม่ถูกต้องนี้ แผลจึง
อักเสบได้ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ (1) ไม่กำจัดโทษคือพิษอันเกิดจากความไม่
สะอาด (2) ไม่กำจัดโทษคือพิษอันยังมีเชื้อหลงเหลืออยู่ไป เขามีแผลอักเสบ พึงถึง
ความตายหรือทุกข์ปางตายได้ แม้ฉันใด
สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคือ
อวิชชา ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว
กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’
เรื่องต่อไปนี้มีเนื้อความดังนี้ ภิกษุนั้นประกอบเนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ
แห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ พึงประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะ
ทางตาเนือง ๆ พึงประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ พึง
ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ พึงประกอบการลิ้มรสอัน
ไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ พึงประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะ
ทางกายเนือง ๆ พึงประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ
เมื่อภิกษุนั้นเห็นรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ประกอบการฟังเสียงอันไม่
เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ
ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ประกอบการถูกต้อง
โผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่
เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะพึงครอบงำจิตได้ เธอมีจิตถูกราคะครอบงำแล้ว
พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
สุนักขัตตะ นั่นเป็นความตายของภิกษุผู้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ใน
อริยวินัย ส่วนทุกข์นี้เป็นทุกข์ปางตายของภิกษุ ผู้ต้องอาบัติเศร้าหมองข้อใดข้อหนึ่ง
[64] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดอย่างนี้
ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาย่อมงอก
งามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอัน
เป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เมื่อภิกษุนั้นมีใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :68 }